เมนู

วรรณนาปัจจยนิทเทสวาระ


(บาลีอรรถกถาหน้า 591-592)

เพื่อความแจ่มแจ้งแห่งการดำเนินไปแห่งญาณ ในปัจจัย 24 เหล่านี้
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงแล้วทั้งโดยอุทเทส และนิทเทส ดังพรรณนา
มาแล้ว บัดนี้ ผู้ศึกษาพึงทราบ ปกิณณกวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งบท 10
เหล่านี้คือ
1. โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่าง เป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน
2. โดยภาวะธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง
3. โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลาย ๆ อย่าง
4. โดยปัจจัยที่เป็นสภาคะกัน
5. โดยปัจจัยที่เป็นวิสภาคะกัน
6. โดยปัจจัยที่เป็นคู่กัน
7. โดยเห็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย
8. โดยปัจจัยที่เข้ากับธรรมได้ทั้งหมดและรูปนี้ทั้งหมด
9. โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น
10. โดยการจำแนกโดยภพ.

ใน 10 อย่างนั้น
1. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียว
กัน
ความว่า ธรรมหลายอย่างเป็นปัจจัยโดยความเป็นอันเดียวกัน ใน
ปัจจัย 23 ที่เหลือเว้น กัมมปัจจัยเหล่านี้. ส่วนกัมมปัจจัย ได้แก่เจตนา

ธรรมอย่างเดียวเท่านั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยโดยภาวะที่ธรรมหลาย ๆ
อย่างเป็นปัจจัยอย่างเดียวกัน ในอธิการนี้อย่างนี้ก่อน.
2. บทว่า โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียวเป็นปัจจัยหลาย ๆ อย่าง
ความว่า ในเหตุปัจจัยก่อน ธรรมอย่างหนึ่งคือ อโมหะ ไม่เป็นเพียง
ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัยเท่านั้น (แต่) เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจปัจจัย 20 ที่เหลือ. อโลภะ และ อโทสะ แม้ไม่เป็นอินทริย-
ปัจจัยและมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 ที่เหลือ. โลภะ
โมหะ
แม้ไม่เป็นวิปากปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 17 ที่เหลือ.
โทสะ แม้ไม่เป็นอธิปติปัจจัย ก็เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 16 ที่
เหลือ.
ใน อารัมมณปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัย 4 อย่าง คืออารัมมณ-
ปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย แก่จักขุวิญญาณธาตุ
มโนธาตุ และอเหตุกมโนวิญญาณธาตุ แต่ยังเป็นปัจจัยด้วยอำนาจของ
อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัยอีก แก่สเหตุกมโน-
วิญญาณธาตุ. ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณปัจจัยธรรมทั้งหมด เป็น
ปัจจัยหลายอย่างโดยนัยนี้.
ใน อธิปติปัจจัย ผู้ศึกษาพึงทราบความที่อารัมมณาธิปติเป็นปัจจัย
หลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วในอารัมมณปัจจัย. ในธรรมที่เป็นสหชาตา-
ธิปติ วิมังสาธิปติ เป็นปัจจัย 20 อย่าง เหมือนอโมหะเหตุ. ฉันทะ ไม่
เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย
ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 17 ที่เหลือ.
จิตตะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย ฌานปัจจัย และ

มัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 19 ที่เหลือ. วิริยะ ไม่เป็นเหตุ
ปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจปัจจัย 9 ที่เหลือ.
ใน อนันตรปัจจัย บรรดาขันธ์ 4 ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้
โดยนัย เป็นต้นว่า " จกฺวิญฺญาณธาตุ ".
เวทนาขันธ์ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหาร-
ปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 19 ที่เหลือ.
สัญญาขันธ์ ไม่เป็นอินทริยปัจจัย และฌานปัจจัย เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจปัจจัย 17 ที่เหลือ.
ใน สังขารขันธ์ เหตุ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในเหตุปัจจัย
ฉันทะ และ วิริยะ เป็นปัจจัยตามนัยที่กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย.
ผัสสะ ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย
ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 ที่เหลือ.
เจตนา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย
และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 19 ที่เหลือ.
วิตก ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย
และอินทริยปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 1 ที่เหลือ.
วิจาร ไม่เป็นมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 ที่เหลือ.
ปีติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 1 เหล่านั้นเหมือนกัน.
เอกัคคตา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย และ
อาหารปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 20 ที่เหลือ.

สัทธา ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย
ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 ที่เหลือ
สติ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 คือปัจจัย 18 เหล่านั้น และ
มัคคปัจจัย.
ชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 18 ที่กล่าวแล้วในสัทธา.
หิริ และ โอตตัปปะ เป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 17 ที่เหลือ โดย
เอาอินทริยปัจจัยออก.
เจตสิกที่เป็นคู่ ๆ กัน มี กายปัสสัทธิ เป็นต้น และบรรดา
เยวาปนกะ เจตสิกคือ อธิโมกข์ มนสิการ ตัตรมัชฌัตตตา กรุณา และ
มุทิตา ก็เหมือนกัน คือเป็นปัจจัยด้วยอำนาจปัจจัย 17 เท่านั้น.
ส่วน วิรตีเจตสิก เป็นปัจจัย 18 อย่าง คือปัจจัย 17 เหล่านั้น
และมัคคปัจจัย.
มิจฉาทิฏฐิ เป็นปัจจัย 17 อย่าง โดยนำวิปากปัจจัยออก
มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ และ มิจฉาอาชีวะ เป็นปัจจัย 19
อย่าง คือปัจจัย 17 เหล่านั้น และกัมมปัจจัย กับอาหารปัจจัย
เจตสิกธรรมเหล่านี้คือ อริหิกะ อโนตตัปปะ มานะ ถีนะ มิทธะ
อุทธัจจะ
ไม่เป็นเหตุปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย
อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย แต่เป็นปัจจัย
ด้วยอำนาจปัจจัย 16 ที่เหลือ.
วิจิกิจฉา อิสสา มัจฉริยะ และ กุกกุจจะ เป็นปัจจัย 15 อย่าง
โดยเอาอธิปติปัจจัยออกจากนั้น.

พึงทราบความที่ วิญญาณขันธ์ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่
กล่าวแล้วในอธิปติปัจจัย. แม้ในสมนันตรปัจจัยก็นัยนี้เหมือนกัน.
ใน สหชาตปัจจัย บรรดาขันธ์ 4 ก่อน พึงทราบความที่ธรรม
หนึ่ง ๆ เป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้วนั่นเอง.
มหาภูตรูป 4 เป็นปัจจัย 9 อย่าง คืออารัมมณปัจจัย อารัมมณา-
ธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.
หทัยวัตถุ เป็นปัจจัย 10 อย่าง คือปัจจัย 9 เหล่านั้น และ
วิปปยุตตปัจจัย.
ใน อัญญมัญญปัจจัย ไม่มีธรรมที่ไม่เคยมีมาก่อน (คือเหมือนกับ
สหชาตปัจจัย).
ใน นิสสยปัจจัย จักขายตนะ เป็นต้น เป็นปัจจัย 9 อย่าง คือ
อารัมมณปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-
ปัจจัย
ใน อุปนิสสยปัจจัย ไม่มีธรรมไม่เคยกล่าวมาก่อน.
ใน ปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ และ
รสายตนะ เป็นปัจจัย 6 อย่าง คือ อารัมมณปัจจัยย อารัมมณาธิปติปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิตตปัจจัย ในปุเรชาต
ปัจจัยนี้มีคำที่ยังไม่ได้อธิบายเพียงเท่านี้.
ใน ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมาก่อน.

ใน อาหารปัจจัย กพฬีการาหารเป็นปัจจัย 6 อย่าง คืออารัมมณ-
ปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย.
ใน อินทริยปัจจัย เป็นต้น ไม่มีธรรมที่ยังไม่เคยมีมา, ผู้ศึกษาพึง
ทราบวินิจฉัย แม้โดยภาวะที่ธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง
ในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้วแล.
3. บทว่า โดยภาวะที่ปัจจัยเดียว เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง
ความว่า ธรรมใดเป็นปัจจัยแห่งปัจจยุบบันชนิดใดชนิดหนึ่ง ในบรรดา
เหตุปัจจัย เป็นต้น โดยอาการใด โดยอรรถใด ธรรมนั้นไม่ละอาการ
นั้น อรรถนั้น ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่างแก่ธรรมเหล่านั้นในขณะนั้น
เอง โดยอาการใด โดยอรรถใด อย่างอื่นอีก ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัย
ธรรมนั้นโดยภาวะที่เป็นปัจจัยได้หลายอย่าง โดยอาการนั้น โดยอรรถนั้น
คือ
อโมหะ เป็นเหตุปัจจัย อโมหะนั้นไม่ละอรรถแห่งเหตุปัจจัยนั้นเลย
ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ 11 อีก คือ อธิปติปัจจัย สห-
ชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย
มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคต-
ปัจจัย.
อโลภะ และ อโทสะ ถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอำนาจ
ปัจจัยที่เหลือจาก 11 ปัจจัยนั้น โดยนำปัจจัย 3 คือ อธิปติปัจจัย
อินทริยปัจจัย และมัคคปัจจัย ออก. อโลภะ และ อโทสะ ทั้งสองนี้
ย่อมได้ในเหตุปัจจัย และวิปากปัจจัยด้วย. ส่วนในกุศลและกิริยา ขาด

วิปากปัจจัยไป. โลภะ โทสะ และ โมหะ ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลาย อย่าง
ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ เว้นปัจจัย 4 คือ ปัจจัย 3 เหล่านั้น และวิปาก-
ปัจจัย.
อารัมมณปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอารัมมณปัจจัยนั้นเลย ย่อมถึง
ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ 7 อีก คือ อารัมมณาธิปติปัจจัย
นิสสยปัจจัย อุปนิสสยปัจจัย ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุดในอารัมมณปัจจัยนี้. ก็เมื่อ
อรูปธรรมคือรูปธรรม ที่เป็นอดีตและอนาคต เป็นอารัมมณปัจจัยมีอยู่
ย่อมได้ปัจจัยเพิ่มขึ้นเพียงอารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย
เท่านั้น.
วิมังสา ใน อธิปติปัจจัย เหมือนกับอโมหะ. ฉันทะ. ไม่ละอรรถ
แห่งอธิปติปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง โดยอาการ 8 อีก
คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย สัมปยุตต-
ปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. วิริยะ ถึงความ
เป็นปัจจัยหลายอย่างด้วยอาการ 10 ด้วยอำนาจปัจจัยเหล่านี้ คือ ปัจจัย
8 เหล่านั้น และอินทริยปัจจัย กับมัคคปัจจัย. จิตตะ ถึงความเป็นปัจจัย
หลายอย่าง โดยอาการ 10 นอกเหนือจากอธิปติปัจจัย ด้วยอำนาจการ
นำมัคคปัจจัยออกจากนั้น แล้วเพิ่มอาหารปัจจัยเข้าไป. ส่วน อารัมมณา-
ธิปติปัจจัย
ผู้ศึกษาพึงทราบว่าเป็นปัจจัยหลายอย่าง ตามนัยที่กล่าวแล้ว
ในอารัมมณปัจจัยในหนหลัง.
อนันตรปัจจัย และ สมนันตรปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอนันตรปัจจัย
และสมนันตรปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ 5 อีก
คือ อุปนิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย

เจตนาในอริยมรรคเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตร-
ปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่.
สหชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสหชาตปัจจัยเลย ย่อมถึงความเป็น
ปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ 14 อีก คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย
อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นกำหนดอย่างสูงสุด แต่ว่าด้วยอำนาจ
วัตถุสหชาตะ (วัตถุที่เกิดพร้อม คือ ป. หทัย) เป็นต้น พึงทราบว่าไม่มี
เหตุปัจจัยเป็นต้น ในวัตถุสหชาตะนี้. แม้ในอัญญมัญญปัจจัย ก็นัยนี้เหมือน
กัน.
นิสสยปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งนิสสยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย
หลายอย่าง ด้วยอาการ 17 แม้อื่นอีก ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ โดยนำ
ออก 6 ปัจจัยในบรรดาปัจจัย 4 คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย
ปัจฉาชาตปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย และอรรถแห่ง
นิสสยปัจจัยของตนด้วย. แม้นี้ก็เป็นกำหนดอย่างสูงสุด ก็เมื่อว่าด้วย
อำนาจแห่งวัตถุนิสสยะเป็นต้น. พึงทราบว่า ไม่มีเหตุปัจจัยเป็นต้น ใน
นิสสยปัจจัยนี้.
ใน อุปนิสสยปัจจัย อารัมมณูปนิสสยปัจจัย เหมือนกับอารัมมณา-
ธิปติปัจจัย. อนันตรูปนิสสยปัจจัยไม่ละอรรถแห่งอนันตรูปนิสสยปัจจัย
ย่อมถึงความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ 6 อีก คือ อนันตรปัจจัย
สมนันตรปัจจัย กัมมปัจจัย อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย. และวิคตปัจจัย.
อริยมรรคเจตนาเท่านั้น ย่อมได้ความเป็นกัมมปัจจัย ในอนันตรูป-

นิสสยปัจจัยนี้ ธรรมที่เหลือหาได้ไม่. ปกตูปนิสสยะ ก็คือปกตูปนิสสย-
ปัจจัยนั่นเอง.
ปุเรชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปุเรชาตปัจจัยของตน ย่อมถึงความ
เป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ 8 อีก คือ อารัมมณปัจจัย อารัมมณา-
ธิปติปัจจัย นิสสยปัจจัย อุปนิสสปัจจัย อินทริยปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. นี้เป็นการแสดงปัจจัยที่มากที่สุด แต่ใน
อารัมมณปุเรชาตปัจจัย ย่อมไม่ได้นิสสยปัจจัย อินทริยปัจจัย และวิปป-
ยุตตปัจจัย. พึงทราบปัจจัยที่ได้หรือไม่ได้ ยิ่งไปกว่านี้.
ปัจฉาชาตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งปัจฉาชาตปัจจัยของตน ย่อมถึง
ความเป็นปัจจัยหลายอย่าง ด้วยอาการ 3 อีก คือ วิปปยุตตปัจจัย อัตถิ-
ปัจจัยและอวิคตปัจจัย.
อาเสวนปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอาเสวนปัจจัย ย่อมถึงความเป็น
ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ 5 คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย
อุปนิสสยปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.
กัมมปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งกัมมปัจจัย ที่เป็นกัมมปัจจัยในขณะ
เดียวกัน (เอกขณิกกัมมปัจจัย คือ สหชาตกัม) ก่อน ยังถึงความเป็นปัจจัย
อีกหลายอย่าง ด้วยอาการ 9 คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย
อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.
ที่เป็น นานักขณิกกัมมปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย อีกหลายอย่าง
โดยอาการ 5 คือ อุปนิสสยปัจจัย อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย
นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.

วิปากปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปากปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย
อีกหลายอย่างด้วยอาการ 14 คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย
ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย.
ใน อาหารปัจจัย กวฬีการาหาร ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย
ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ 2 อย่าง คือ อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย. อาหาร 3 ที่เหลือ ไม่ละอรรถแห่งอาหารปัจจัย ย่อมถึง
ความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ 11 คือ อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย
อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตาม
สมควร.
ใน อินทริยปัจจัย รูปอินทรีย์ 5 ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย
ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่าง โดยอาการ 5 คือ นิสสยปัจจัย
ปุเรชาตปัจจัย วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย อวิคตปัจจัย. แม้รูปชีวิตินทรีย์
ก็ไม่ละอรรถแห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดย
อาการ 2 คือ อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. อรูปอินทรีย์ ไม่ละอรรถ
แห่งอินทริยปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ 13 คือ
เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาตปัจจัย อัญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย
วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย ตามสมควร.

ฌานปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งฌานปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัย
อีกหลายอย่างโดยอาการ 10 คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย
นิสสยปัจจัย วิปากปัจจัย อินทริยปัจจัย มัคคปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.
มัคคปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งมัคคปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก
หลายอย่างโดยอาการ 12 คือ ปัจจัย 10 ที่กล่าวแล้วในฌานปัจจัย และ
เหตุปัจจัย กับอธิปติปัจจัย ตามสมควร.
สัมปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งสัมปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น
ปัจจัยอีกหลายอย่างโดยอาการ 13 คือ เหตุปัจจัย อธิปติปัจจัย สหชาต-
ปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย อาหารปัจจัย
อินทริยปัจจัย ฌานปัจจัย มัคคปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย.
วิปปยุตตปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งวิปปยุตตปัจจัย ย่อมถึงความเป็น
ปัจจัยอีกหลายอย่างด้วยอาการ 17 ตามสมควร คือ ปัจจัยที่เหลือ โดย
นำเอาปัจจัย 6 ออก คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย
สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. พึงทราบวิภาคแห่งปัจจัยแห่ง
รูป และอรูปในวิปปยุตตปัจจัยนั้น.
อัตถิปัจจัย ไม่ละอรรถแห่งอัตถิปัจจัย ย่อมถึงความเป็นปัจจัยอีก
หลายอย่างโดยอาการ 18 ตามสมควร ด้วยอำนาจปัจจัยที่เหลือ ด้วยนำ
ปัจจัย 5 ออก คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อาเสวนปัจจัย
นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย.
นัตถิปัจจัย และ วิคตปัจจัย เหมือนกับอนันตรปัจจัย.

อวิคตปัจจัย เหมือนกับอัตถิปัจจัย. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้
โดยภาวะที่ปัจจัยอย่างเดียวเป็นปัจจัยได้หลายอย่าง ในอธิการนี้ ดัง
พรรณนามาแล้ว.
4. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่สภาคกัน ความว่า จริงอยู่
ในปัจจัย 24 นี้ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูปนิสสยปัจจัย
อาเสวนปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย เป็นสภาคกัน. อนึ่ง อารัมมณ-
ปัจจัย อารัมมณาธิปติปัจจัย และอารัมมณูปนิสสยปัจจัย ก็เป็นสภาคกันแล.
พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นสภาคกันในอธิการนี้ ด้วย
อุบายนี้.
5. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นวิสภาคกัน ความว่า ก็บรรดา
ปัจจัยเหล่านี้ ปุเรชาตปัจจัยเป็นวิสภาคกับปัจฉาชาตปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย
เป็นวิสภาคกับวิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัยเป็นวิสภาคกับนัตถิปัจจัย วิคต-
ปัจจัยเป็นวิสภาคกับอวิคตปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัย
ที่เป็นวิสภาคกันในอธิการนี้ โดยอุบายนี้.
6. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เป็นคู่กัน มีอธิบายว่า ผู้ศึกษาพึง
ทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจของปัจจัยที่เป็นคู่กันในปัจจัยเหล่านี้ ด้วยเหตุเหล่า
นี้คือโดยความที่มีอรรถเหมือนกัน มีศัพท์เหมือนกัน มีกาลที่ผิดกัน เป็น
เหตุและเป็นผลกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันและกัน
จริงอยู่ อนันตรปัจจัย กับสมนันตรปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะ
มีเนื้อความเหมือนกัน.
นิสสยปัจจัย กับอุปนิสสยปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีศัพท์
เหมือนกัน .

ปุเรชาตปัจจัย กับปัจฉาชาตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะมีกาลเป็น
ปฏิปักษ์กัน.
กัมมปัจจัย กับวิปากปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็นเหตุและเป็น
ผลกัน.
สัมปยุตตปัจจัย กับวิปปยุตตปัจจัย จัดเป็นคู่หนึ่ง เพราะเป็น
ปฏิปักษ์ซึ่งกันและกัน.
อัตถิปัจจัย กับนัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย กับอวิคตปัจจัยก็เหมือนกัน
อย่างนั้น. ผู้ศึกษาพึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจปัจจัยที่เป็นของคู่กันใน
อธิการนี้ ดังกล่าวมาแล้ว.
7. บทว่า โดยเป็นชนกปัจจัย และอชนกปัจจัย ความว่า
ก็บรรดาปัจจัยเหล่านี้ ปัจจัยนี้คืออนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย อนันตรูป-
นิสสยปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย และอาเสวนปัจจัย นานักขณิกกัมมปัจจัย
นัตถิปัจจัย วิคตปัจจัย จัดเป็นชนกปัจจัยอย่างเดียว ไม่เป็นอชนกปัจจัย.
ปัจฉาชาตปัจจัยเป็นฝ่ายอุปถัมภ์เท่านั้น ไม่เป็นชนกปัจจัย. ปัจจัยที่เหลือ
เป็นชนกับปัจจัย อชนกปัจจัยและอุปถัมภ์ปัจจัย. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วย
อำนาจของปัจจัย ที่เป็นชนกปัจจัยและอชนกปัจจัยในอธิการนี้ ดังพรรณนา
มาแล้ว.
8. บทว่า โดยเป็นปัจจัยที่เข้ากับธรรมทั้งหมด และไม่ทั้งหมด
ความว่า ในปัจจัยเหล่านี้ สหชาตปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ
อวิคตปัจจัย ชื่อว่าเข้าได้กับธรรมทั้งหมด (สพฺพฏฺฐานิก). อธิบายว่า
เป็นที่ตั้ง เป็นเหตุแห่งรูปธรรมและอรูปธรรม ที่เป็นสังขตะทั้งหมด

อธิบายว่า ธรรมแม้อย่างหนึ่งเมื่อเกิดขึ้น เว้นจากปัจจัยเหล่านี้ย่อมไม่มี.
อารัมมณะ อารัมมณาธิปติ อนันตระ สมนันตระ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูป-
นิสสยะ อาเสวนะ สัมปยุต นัตถิ และวิคตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าได้กับ
ธรรมไม่หมด (อสพฺพฏฺฐานิก) เพราะไม่เป็นที่ตั้งแห่งรูปธรรมและอรูป-
ธรรมทั้งหมด อธิบายว่า เป็นที่ตั้งเป็นเหตุแห่งอรูปขันธ์ทั้งหลายเท่านั้น.
จริงอยู่ อรูปธรรมเท่านั้นย่อมเกิดเพราะปัจจัยเหล่านี้ รูปธรรมหาเกิดขึ้น
ไม่. แม้ปุเรชาตปัจจัย และปัจฉาชาตปัจจัย ชื่อว่าปัจจัยที่เข้าไม่ได้กับ
ธรรมทั้งหมด (อสพฺพฏฺฐานิก) เพราะเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปขันธ์และ
รูปขันธ์เท่านั้นตามลำดับ. แม้ปัจจัยที่เหลือจากที่กล่าวแล้วก็ชื่อว่าประกอบ
ไม่ได้ทุกแห่ง เพราะเป็นเหตุแห่งการเกิดขึ้นของรูปธรรมและอรูปธรรม
บางพวก. พึงทราบวินิจฉัยแม้ด้วยอำนาจของปัจจัยที่เข้าได้ทุกแห่ง และ
เข้าไม่ได้ทุกแห่งในอธิการนี้ ดังพรรณนามาแล้ว.
9. บทว่า โดยการกำหนดว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น
ความว่า ก็ในปัจจัย 24 เหล่านี้ แม้ปัจจัยอย่างหนึ่งที่เป็นรูปอย่างเดียว
จะชื่อว่าเป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี. แต่ที่เป็นรูปโดยส่วน
เดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่.
ถามว่า ก็ปัจจัยอย่างนั้นคือปัจจัยไหน ? ตอบว่า ปุเรชาตปัจจัย.
จริงอยู่ ปุเรชาตปัจจัยเป็นรูปโดยแน่นอน (แต่) เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูป
เท่านั้น. ปัจจัยที่เป็นรูปอย่างเดียวชื่อว่าเป็นปัจจัยแก่รูปและอรูปไม่มี แต่
ที่เป็นอรูปอย่างเดียวเป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้นมีอยู่. ถามว่า ได้แก่
ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย 6 คือ อนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย

อาเสวนปัจจัย สัมปยุตตปัจจัย นัตถิปัจจัย และวิคตปัจจัย. จริงอยู่
ปัจจัยทั้ง 6 นั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.
ปัจจัยที่เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้นมีอยู่.
ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่ปัจฉาชาตปัจจัย. จริงอยู่
ปัจฉาชาตปัจจัยนั้นเป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น.
ส่วนปัจจัยที่เป็นอรูปธรรมอย่างเดียว เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูป
มีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ตอบว่า ได้แก่ปัจจัย 5 คือ เหตุ-
ปัจจัย กัมมปัจจัย วิปากปัจจัย ฌานปัจจัย และมัคคปัจจัย. จริงอยู่
ปัจจัย 5 ทั้งหมดนั้น เป็นอรูปอย่างเดียว เป็นปัจจัยแก่รูปธรรมก็ได้
อรูปธรรมก็ได้. แต่ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน ชื่อว่าเป็น
ปัจจัยเฉพาะแก่รูปเท่านั้น ย่อมไม่มี แต่เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปมีอยู่
ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่อารัมมณปัจจัย และ
อุปนิสสยปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยทั้งสองนี้เป็นทั้งรูปและอรูปแน่นอน (แต่)
เป็นปัจจัยเฉพาะแก่อรูปเท่านั้น.
อนึ่ง ปัจจัยที่เป็นทั้งรูปและอรูปโดยแน่นอน เป็นปัจจัยทั้งแก่รูป
และอรูปมีอยู่. ถามว่า ได้แก่ปัจจัยไหน ? ตอบว่า ได้แก่อธิปติปัจจัย
สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อาหารปัจจัย อินทริยปัจจัย
วิปปยุตตปัจจัย อัตถิปัจจัย และอวิคตปัจจัย. จริงอยู่ ปัจจัยนั้นทั้งหมด
เป็นทั้งรูปและอรูป (และ) เป็นปัจจัยทั้งแก่รูปและอรูปด้วย. พึงทราบ
วินิจฉัยแม้โดยการกำหนดมีอาทิว่า รูปเป็นปัจจัยแก่รูปเป็นต้น ในอธิการนี้
ดังกล่าวมาแล้ว.

10. บทว่า โดยการจำแนกโดยภพ ความว่า ก็บรรดาปัจจัย
24 เหล่านี้ ใน ปัญจโวการภพก่อน ปัจจัยอะไร ๆ ที่ชื่อว่ามีไม่ได้
ย่อมไม่มี. ส่วนใน จตุโวการภพ ปัจจัย 21 ที่เหลือ ย่อมมีได้ โดยนำ
ปัจจัย 3 คือ ปุเรชาตปัจจัย ปัจฉาชาตปัจจัย และวิปปยุตตปัจจัย ออก
ใน เอกโวการภพ ย่อมได้ปัจจัย 7 เหล่านั้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญ-
มัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย กัมมปัจจัย อินทริยปัจจัย อัตถิปัจจัย และ
อวิคตปัจจัย. ส่วนในรูปที่ไม่เนื่องด้วยอินทรีย์ในภายนอก ย่อมได้ปัจจัย
5 เท่านั้น คือ สหชาตปัจจัย อัญญมัญญปัจจัย นิสสยปัจจัย อัตถิปัจจัย
และอวิคตปัจจัย.
พึงทรามวินิจฉัยแม้โดยการจำแนกโดยภพในอธิการนี้ ดังกล่าวมา
แล้วแล.
วรรณนาปัจจัยนิทเทสวาระ จบ

อนุโลมติกปัฏฐาน


1. กุสลติกะ


1. ปฏิจจวาระ


ปฏิจจวารอุทเทส


(ปัณณัตติวาระ1)


กุศลบท


[26] 1. กุศลธรรม

อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
ได้อย่างไร ?
2. อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้
อย่างไร ?
3. อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย
ได้อย่างไร ?
4. กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?
5. อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น
เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร ?
6. กุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ
เหตุปัจจัยได้อย่างไร ?
1. เรียกปุจฉาวาระก็ได้.